อยากนำเข้าสินค้าเครื่องสำอางจากเกาหลีมาขาย มีขั้นตอนอย่างไร
กระแสวัฒนธรรมเกาหลีในปัจจุบัน ได้รับความนิยมล้นหลามไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน K-POP ซีรีส์ แฟชั่น อาหาร หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอางที่ได้รับการขนานนามว่าคุณภาพดี และมีราคาถูก การนำเข้าสินค้าเกาหลีจึงกลายมาเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่หลายคนกำลังสนใจ และหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่แน่ใจว่าการนำเข้าสินค้าจากเกาหลีโดยเฉพาะเครื่องสำอางมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ จะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการนำเข้าเครื่องสำอางจากเกาหลีตั้งแต่การยื่นขอใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางกับกลุ่มควบคุม ไปจนถึงการคำนวณภาษีนำเข้า จะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูกันเลย
4 ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องสำอางจากเกาหลีมาจำหน่าย
การนำเข้าสินค้าจากเกาหลี เช่น เครื่องสำอาง เป็นการนำเข้าสินค้ากำกัด ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนถึงจะมีการนำเข้ามาจำหน่ายได้ หากนำเข้ามาจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าผิดกฎหมายทั้งพรบ.เครื่องสำอาง และพรบ.ศุลกากร
ดังนั้น มาดูสรุป 4 ขั้นตอนการนำเข้าเครื่องสำอางจากเกาหลีเพื่อจำหน่ายกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง
1. ยื่นขอใบรับจดแจ้งเครื่องสำอาง
- สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ จะต้องผ่านการตรวจสอบสถานที่จัดจำหน่ายตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก่อน
- ก่อนนำเข้าเครื่องสำอางเกาหลี ต้องจดแจ้งรายละเอียดของผู้จดแจ้ง สถานที่เก็บ และส่วนผสมของเครื่องสำอางให้ครบถ้วน ใบรับจดแจ้งจะมีอายุ 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบรับจดแจ้ง และควรต่ออายุใบรับแจ้งอย่างน้อย 6 เดือนก่อนใบรับแจ้งจะหมดอายุ
- การนำเข้าเครื่องสำอางเข้ามา สินค้าที่นำเข้าจะต้องถูกต้องตามที่จดแจ้งไว้เท่านั้น
- เมื่อนำเข้าเครื่องสำอางเกาหลีแล้ว ต้องติดฉลากภาษาไทยที่ตรงต่อความจริง ไม่ทำให้เกิดการเข้าใจผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือโฆษณาเกินจริง
- เตรียมเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงของฉลากหรือข้อความโฆษณาของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามา
ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะจำหน่ายสินค้านำเข้าจากเกาหลี เช่น เครื่องสำอาง จะต้องจดแจ้งรายละเอียดต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ก่อนนำเข้าเพื่อจัดจำหน่าย ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
ผู้ประกอบการสามารถจดแจ้งรายละเอียดได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือแจ้งผ่านระบบ E-Submission ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ โดยการแจ้งผ่านระบบ ผู้ตรวจเอกสารจะประเมินความถูกต้องของข้อมูลภายใน 3 วันทำการ
2. ยื่นขอ License per Invoice (LPI)
ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะออก License per Invoice หรือใบรับแจ้งผลิตภัณฑ์สุขภาพนำเข้า เพื่อให้ผู้นำเข้าใช้ประกอบพิธีการศุลกากร ซึ่งมีขั้นตอนการขอเอกสารดังนี้
1. ยื่นขอเข้าใช้ระบบสารสนเทศ ด่านอาหารและยา และหลักฐานประกอบที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ที่ชั้น 4 อาคาร OSSC
- กรณีผู้ขอใช้งานเป็นผู้มีอำนาจ: ยื่นหนังสือแจ้งความประสงค์ โดยใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน หรือสำเนาทะเบียนพาณิชย์ที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน โดยมีผู้มีอำนาจลงชื่อรับรอง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจที่ยังไม่หมดอายุ
- กรณีผู้ขอใช้งานเป็นผู้รับมอบอำนาจ: ยื่นหนังสือมอบอำนาจ โดยใช้โดยใช้สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน หรือสำเนาทะเบียนพาณิชย์ที่ออกมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน โดยมีผู้มีอำนาจลงชื่อรับรอง และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มีอำนาจ รวมถึงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจที่ยังไม่หมดอายุ
2. สร้างบัญชีผู้ใช้งานและลงทะเบียนในระบบ SKYNET จากนั้น ตรวจสอบเลขที่ใบสำคัญ และออกรายงานเอกสาร LPI
3. เข้าระบบ NSW เพื่อกรอกข้อมูลการนำเข้าสินค้าสู่ระบบ เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยและผ่านการตรวจสอบ จะได้รับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่มารถดาวน์โหลดมาเก็บไว้ได้
3. ทำใบขนสินค้าขาเข้ากับกรมศุลกากร
การนำเข้าสินค้าเกาหลีอย่างเครื่องสำอาง จำเป็นต้องผ่านกระบวนการทางศุลกากร โดยต้องทำใบขนสินค้าขาเข้ากับเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะชี้แจงรายละเอียด เงื่อนไขภาษีอากร ก่อนจะปล่อยให้สินค้าถูกนำเข้ามา
4. ตรวจสอบสินค้าและเอกสารกับเจ้าหน้าที่ ณ ด่านอาหารและยา
เมื่อยื่นเอกสารไปเป็นที่เรียบร้อย ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบสินค้าการนำเข้า โดยใช้เอกสารดังนี้
- ใบขนสินค้า หรือใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
- ใบตราส่งสินค้า หรือบัญชีราคาสินค้า
- License per Invoice หรือ ใบรับแจ้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์สุขภาพ
- หนังสือมอบอำนาจดำเนินพิธีการ ณ ด่านอาหารและยา
- ตัวอย่างเครื่องสำอางที่นำเข้าเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ และแสดงฉากเครื่องสำอางภาษาไทยที่มีการแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง
ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง https://cosmetic.fda.moph.go.th/
วิธีการคำนวณภาษีนำเข้าสินค้า
การนำเข้าสินค้าจากเกาหลี ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอางหรือสินค้าอื่น ๆ จากต่างประเทศ นอกจากจะต้องแจ้งความประสงค์นำเข้าเพื่อมาจำหน่ายแล้วนั้น ยังต้องคิดคำนวณภาษีนำเข้าอีกด้วย โดยเฉพาะสินค้าที่มีมูลค่าสูงกว่า 1,500 บาทขึ้นไป แต่หากสินค้ามีจำนวนไม่มาก หรือมูลค่าที่ไม่เกินกำหนด ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษี
หากสินค้ามีมูลค่ามากกว่า 1,500 บท ต้องเสียภาษีนำเข้าและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถคำนวณได้ดังนี้
- ค่าสินค้า+ค่าส่ง+ค่าประกันภัย(ถ้ามี) คูณด้วย %อัตราภาษีนำเข้า = ภาษีนำเข้า
- ค่าสินค้า+ค่าส่ง+ค่าประกันภัย(ถ้ามี) คูณด้วย ภาษีนำเข้า แล้วคูณด้วย VAT 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ซึ่งภาษีนำเข้ารวมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย
สินค้าที่จำเป็นต้องเสียภาษีนำเข้า
- แว่นตา แว่นกันแดด นาฬิกา ต้องเสียภาษีนำเข้า 5%
- หูฟัง ตุ๊กตา อัลบั้ม แบตเตอรี่สำรอง ต้องเสียภาษีนำเข้า 10%
- กระเป๋า ต้องเสียภาษีนำเข้า 20%
- เครื่องสำอาง น้ำหอม รองเท้า ผ้าห่ม ร่ม ต้องเสียภาษีนำเข้า 30%
สินค้าที่ไม่จำเป็นต้องเสียภาษีนำเข้า แต่เสีย VAT 7%
- คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์และเมาส์
- นิตยสาร
สรุปบทความ
จะเห็นได้ว่าการนำเข้าสินค้าเกาหลี มาจำหน่าย หรือสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ต้องมีการแจ้งสำนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินกิจการอย่างถูกกฎหมาย โดยเฉพาะสินค้าควบคุมอย่างเครื่องสำอางที่มีรายละเอียดยิบย่อย มีขั้นตอนยื่นเรื่องที่ละเอียดอ่อน รวมถึงภาษีนำเข้าที่ต้องคำนึงถึง ฉะนั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ให้เข้าใจก่อนการลงทุนซื้อของเข้ามาจำหน่ายต่อ
หากผู้ประกอบการท่านไหนกำลังมองหาบริษัทนำเข้าและส่งออกอยู่ DPX E-Commerce มีบริการเรียกรับสินค้าจากต่างประเทศครอบคลุม 5 ทวีป ไม่ว่าจะเป็น เอเชีย ออสเตรเลีย อเมริกา ยุโรป และแอฟริกา รวมถึงบริการเคลียร์สินค้าขาเข้าแบบ Express ภายใน 1-3 วันทำการ พร้อมทั้งบริการจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าสินค้าฟรี โดยมีผู้ชำนาญศุลกากร (Customs Specialist) ตัวแทนออกของรับอนุญาต (Licensed Customs Broker) ให้คำแนะนำ และเจ้าหน้าที่ customer service ที่คอยดูแลคุณตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้ให้บริการ fulfillment ชั้นนำ ของประเทศไทย การันตีด้วยการทำงานมาตรฐานระดับโลก และลูกค้าชั้นนำมากมาย เชื่อมต่อครบทุกแพลตฟอร์มชั้นนำ
ติดต่อเรา
60 อาคาร dpx ซอยอารีย์ 5 เหนือ
ถนนพหลโยธิน แขวงพญาไท
เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
จันทร์ – ศุกร์ 8.30-17.00
เสาร์ 8.30 – 16.00
Tel: 02-278-2900
Fax: 02-278-2600
Email: [email protected]